วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

การฝึกฝนตนเองจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้  หากได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่นานๆ ค่อยทำครั้งหนึ่ง แล้วเมื่อไหร่การพัฒนาทางจิตจะก้าวหน้าละ ?
เหมื่อนอย่างที่สอนไป เราจะต้องกำหนดตัวเอง  ว่าจะต้องลงมือทำอย่างจริงจังแล้ว
เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือไม่มีเวลาเหลือมากนัก  หากจะปล่อยให้เวลาหมดไปแต่ละวัน ก็สุดแล้วแต่ๆ ละคนก็แล้วกัน เพราะถือว่าได้เตือนไว้แล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 เมษา 2555 
ใครใส่ใจก็ลงมือทำเสีย ก่อนที่จะไม่มีเวลาเหลือให้ทำ

- เริ่มแรกให้หมั่นทำให้บ่อยๆ ถี่ๆ วันละหลายรอบ 10 รอบ 20 รอบ ก็ทำไปเถอะ
- เป็นการทำโดยไม่ เพ่ง เน้น กด เร่ง ให้เกิดผลลัพธ์ แต่ทำด้วยอาการ โปร่ง โล่ง เบา สบาย ด้วยอาการมีสติตลอดเวลาที่ปฏิบัติ มองดูเสมือน แมวเฝ้าดูหนูที่เมื่อไหร่ หนุจะวิ่งออกมาจากรู มองเฉยๆ ไม่ต้องวิตก วิจารณ์ วิเคราะห์ หรือคิดเอาเองว่าคงจะเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ ตั้งสติไว้ที่อาการดูให้ชัดเจน อย่าส่งใจออกภายนอกตัว
- หากวันใด ครั้งใด จิตไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ต้องไปบังคับให้ต้องนั่งต่อ เปลี่ยนอิริยาบถ หรือหากุศโลบายอย่างอื่นทำ หาวิธีการใหม่ๆ มาหลอกล่อจิต เพื่อให้เกิดความสนใจคล้อยตาม
- การปฏิบัติต้องอาศัยความอดทน มีระเบียบและวินัย เหมือนกับการฝึกของทหาร สิ่งนี้จะช่วยให้การปฏิบัติเจริญรุดหน้าได้อย่างมาก แล้วใส่ความเพียรพยายามเข้าไป ประคองไปเรื่อยๆ
-  นักปฏิบัติที่ดีจะ ขี้เกียจไม่ได้
- หมั่นนึกถึงครูบาอาจารย์อยู่เสมอ ขอให้ช่วยประทานกำลังใจให้มีความเข้มแข็ง สามารถฝ่าฝันอุปสรรคต่่างๆ ไปได้
- สิ่งสำคัญสุดท้าย ที่จริงแล้วน่าจะเรียกว่าสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้และจะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติเจริญรุดหน้ามากที่สุด ได้ผลลัพธ์สูงสุด คือ ความศรัทธา (อย่างมีสติและมีปัญญา) ไม่ใช่ศรัทธาอย่างล่องลอย ไร้เหตุผล 
มีคำกล่าวตอนหนึ่งในคำสอนของกริยาโยคะ (Kriya Yoga) ว่า "จงมีศรัทธามุ่งมั่นต่อการปฏิบัติให้ดี แล้วตนเองจะเข้าถึงคุรุของตนได้ในไม่ช้า"

นี่คือหนทางขั้นแรกของบันไดแห่งความสำเร็จ

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555


ขอแจ้งข่าวการอบรมครั้งที่ 2 (ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว)


พลังเอกภพยูเรอัส เปิดอบรมระดับสูง 


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00 - 17.00 น.
ตึกธนาคารกรุงไทย ชั้น 4


เนื้อหาการอบรม
    - การเดินพลังในลักษณะต่างๆ 
    - การสร้างความเข้มข้นให้กับพลัง
    - ความสำคัญของ กาย จิต ลมหายใจ และพลัง


 การสอนครั้งนี้จะมุ่งเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี สุภาพสตรีควรนุ่งกางเกงเืพื่อความคล่องตัว

อจ. กิติชัย 

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตอบคำถาม


คำถาม : คนโดยมากมักพูดกันว่าพอลงนั่งสมาธิ จิตจะไม่นิ่ง คอยวิ่งออกไปนอกตัวอยู่เสมอ ไม่สามารถกำหนดความรู้สึกให้อยู่ในเรื่องเดียวได้ ไม่ทราบว่าจะมีวิธีใดที่ง่ายในการปฏิบัติ หรือมีกุศโลบายใดบ้างที่จะช่วยให้จิตสงบได้เร็ว

ตอบ :  อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า การจะทำให้จิตนิ่งอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียวนั้น หลายๆ ขณะในแต่ละวัน เราก็ต่างทำได้อยู่แล้ว เช่นเวลาอ่านหนังสือ  เวลาขับรถ หรือเวลาฟังครูสอนในห้องเรียน จิตของเราต่างจดจ่ออยู่โดยเราไม่รู้ตัว  เพราะถ้าเราไม่จดจ่อกับสิ่งนั้น เราจะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง หรือหากไม่จดจ่อกับการขับรถ ขาดสติอาจเกิดอันตรายได้ในช่วงเสี้ยววินาที  การมีสติอยู่กับสิ่งใดๆก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าตัวเราจะมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้นานแค่ไหน โดยส่วนตัวและจากการได้ปฏิบัติมาหลายวิธีเห็นว่า
การจะลงนั่งทำสมาธิแล้วบังคับให้จิตนิ่งเลยทันที หรือจะเอาแต่นั่งสมาธิเพียงอย่่างเดียว ไม่ใช่ประเด็นหลักในการปฏิบัติธรรม กล่าวคือ
การจะบังคับจิตให้สงบนิ่ง ต่างต้องอาศัยความละเอียดอ่อนโยนของจิต หากจิตของผู้นั้นยังหยาบกระด้าง ไม่สงบ วิ่งไปโน่นมานี่อยู่ตลอดเวลา ก็ควรหันกลับมาสำรวจตัวเองเสียก่อน มองดูจิตของตนแล้วหันเข้าหาสิ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้จิตเราสงบเย็นได้เร็ว เช่น ไปสวดมนต์ อ่านหนังสือธรรมะ ลงมือปฏิบัติด้วยการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือผู้อื่น หรือกับสัตว์ต่างๆ เช่น หมา แมว  หากได้ลงมือทำบ่อยๆ ถี่ๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะตามมาเอง แต่ขอเน้นว่าเมื่อทำอย่าหวังผลว่า ตัวเองจะได้ในสิ่งที่ตนหวังไว้หรือไม่ก็ตาม อย่าคาดหวัง ขอให้ทำด้วยจิตที่อยากจะทำ ไม่มีใครบังคับให้ทำ และมีเมตตา ไม่นานเกินรอ จิตจะเริ่มอ่อนโยนมากขึ้น และเมื่อเวลานั้นมาถึงการปฏิบัติสมาธิ ก็จะเป็นเรื่องง่าย อย่าไปมุ่งเน้นเอาเป็นเอาตายว่าจะต้องนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง ให้จิตสงบให้ได้ เดี๋ยวจะกลายเป็นปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มความเครียดให้กับตนเอง  ยิ่งนั่งยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งนั่งกลับกลายเป็นเพิ่มกิเลส แทนที่จะได้รับความสงบ ร่มเย็นในใจ แทนที่จะได้อารมณ์จิตที่ตั้งมั่น หนักแน่นมากขึ้น กลับสวนทางกันเสียหมด
และนอกจากนี้  การจะเข้าถึงธรรมให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นไปนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะอาศัยแค่การนั่งแต่เพียงอย่างเดียว    ยังมีหนทางปฏิบัติอยู่อีกมากมายหลายวิธี ที่จะนำให้ผู้นั้นเข้าถึงธรรมะได้ เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น การแบ่งปัน การให้ทาน การรักษาศีล การได้พูดคุยกับนักปราชญ์  การมีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ การขออโหสิกรรม การเตือนให้สติเมื่อเห็นว่าผู้นั้นกำลังทำผิดออกนอกลู่นอกทางฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นส่วนประกอบที่จะมาผนวกรวมเข้าในตัวเรา ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติที่ต้องอดทน มุ่งมั่น ตั้งใจ
มีหลายคนที่เข้าใจว่าต้องนั่งให้จิตนิ่ง และก็ล้วนแต่เสียเวลาให้ผ่านไปนานหลายปี กว่าจะมาตระหนักได้ว่า ไม่เกิดการพัฒนาทางปัญญาขึ้นเลย ทางพุทธศาสนามีคำเรียกว่า "นั่งนิ่งเป็นสมาธิตอไม้  หรือเหมือนหินทับหญ้า
ขอให้ใช้สติปัญญาพิจารณาไป ก็จะค่อยเข้าใจได้เอง หรือขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ก็ได้

การทำสมาธิ


หลักการทำสมาธิ
1. สำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน
2. ผู้ที่เคยเรียนรู้เรื่องจักระมาแล้ว หรือที่เคยเรียนวิชานี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน อาจเริ่มต้นง่ายๆด้วยการหำหนดความรู้สึกไว้ที่กลางกระหม่อม
เฝ้ากำหนดความรู้สึกไว้เรื่อยๆ เบาสบาย แบบไม่เพ่ง ผ่อนคลาย ฝึกใหม่ๆ ไม่ต้องทำนาน เพียง 5 นาทีก็พอ ระยะแรกๆ ควรฝึกทำให้สม่ำเสมอแม้ว่าจิตจะนิ่งบ้าง ไม่นิ่งบ้าง ก็อย่าไปเครียดจริงจังจนเกินเหตุ หมั่นทำไปเรื่อยๆ จิตจะเริ่มคุ้นเคยกับจุดฐานที่ตั้ง
-------------------------------------------------------------------------------------------------
2. สำหรับผู้ที่เคยเรียนรู้เรื่องจักระมาแล้ว หรือที่เคยเรียนวิชานี้มาแล้ว
ให้เอาความรู้สึกไปกำหนดตรงบริเวณกลางตัว แนวเดียวกับหัวใจ (จักระ 4) กำหนดนิ่งอยู่ไปเรื่อยๆ

บททดสอบตนเอง สำหรับผู้ที่เคยเรียนเรื่องจักระ ให้ลองสังเกตดูที่จักระ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น แสง สี ขนาด ฯลฯ ดูการเปลี่ยนแปลงเมื่อครั้งที่เริ่มปฏิบัติใหม่ เปรียบเทียบกับปัจจุบันว่าแตกต่างกันในด้านใด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเรียนรู้ทางจิตไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอย่างใดขึ้นกับตัวเรา ขอให้ตระหนัก และเตือนตนเองไว้เสมอว่า อย่าไปหลง ยึดติดกับสิ่งที่เห็น ได้ยิน หรืิอมีจิตสัมผัสใดๆ ก็ตาม ....
"เมื่อรู้แล้ววางได้ ไม่ไปอยาก .... การปฏิบัติของท่านจะค่อยๆก้าวหน้าทีละน้อย"

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของยูเรอัส
1.    เปิดอบรมให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป  สอนให้รู้จักวิธีปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการทำสมาธิเพื่อรับพลังจากธรรมชาติผ่านตามจุดต่างๆในร่างกาย ซึ่งเรียกว่า จักระ(Chakra)” โดยจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง สามารถสร้างภูมิต้านทานโรค  นับเป็นอีกทางหนึ่งของการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine)  
2.    ศาสตร์การทำสมาธิในลักษณะต่างๆ เช่น องค์ความรู้ของแอตแลนติส  การเคลื่อนย้ายเส้นเอ็น  ลมหายใจสฟิงคซ์  กิริยาโยคะ ฯลฯ
3.    ศาสตร์คริสตัลและหินบำบัด (Crystal & Precious stone Therapy)
4.    การบำบัดด้วยเสียงโดยใช้ Crystal Bowl และคลื่นเสียง
5.    งานด้านอื่นๆ คือการให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยการสนับสนุนกิจกรรมองค์กรการกุศลต่างๆ ตามสมควรในรูปของเงินบริจาค

จุดมุ่งหมายด้านสังคม
1.    ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคจิตประสาทที่สถาบันจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ทุกๆเดือน เช่น เงินสมทบทุนสร้างตึกของโรงพยาบาลฯ  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   การนำอาหารไปเลี้ยงผู้ป่วย ฯลฯ
2.    ช่วยเหลือองค์กรเกี่ยวกับช้างในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่นช้างเร่ร่อน ช้างที่ประสบอุบัติเหตุที่ต้องรับการรักษาเป็นค่ายาและค่ารักษาพยาบาล และในด้านอื่นๆอีกมากมายโดยร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเช่นที่ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง   โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 
3.    การช่วยเหลือองค์กรเกี่ยวกับสุนัขและแมว โดยให้การสนับสนุนช่วยเหลือ มอบเงินบริจาคเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับหน่วยงาน หรือบ้านที่รับเลี้ยงหมาแมวกำพร้าหลายแห่ง เช่น มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน)   องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Society for the Protection of Animals : WSPA) โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน   สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (Thai Society for the Prevention of Cruelty to Animals :TSPCA)



วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานที่ๆ มีความสำคัญทางจิตวิญญาณ

สถานที่ๆ มีความหนาแน่นของพลังงานเป็นพิเศษ แสดงการทับซ้อนทางมิติโลก(ที่มองเห็นได้)กับมิติของจิตวิญญาณ (ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) ที่อุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์สามารถจับภาพได้
มหาปิรามิดแห่งกีซ่า
วิหารลักซอร์



 

 การทดสอบถ่ายภาพ ภายในห้องโถงวิหารลักซอร์ ทั้ง 3 ภาพ แต่่ละภาพถ่ายเวลาห่างกันไม่กี่วินาที ที่ตำแหน่งเดิม ด้วยกล้องตัวเดียวกัน ส่วนผลลัพธ์ที่ได้หวังว่าจะได้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต




เปรียบเทียบขนาดความใหญ่ของปิรามิดแต่ละก้อน ของมหาปิรามิดที่กีซ่า ทีมีอยู่ 2,300,000 ก้อน แต่ละก้อนมีน้ำหนักตั้งแต่ 2.5  -15 ตัน เทียบกับความสูงของคน

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมาย


ยูเรอัส (URAEUS)
เป็นคำในภาษาอียิปต์โบราณ มีหลายความหมาย เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด หรือพระสูงสุดตามความเชื่อของคนอียิปต์ยุคโบราณ ในอีกความหมายหนึ่งหมายถึงส่วนพระนลาฏมงกุฏของฟาโรห์ที่สวม เป็นการรวมอำนาจของทุกอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน ณเวลานั้นคืออาณาจักรอียิปต์บน(Upper Egypt) มีอาณาเขตตั้งอยู่ทางตอนล่างบริเวณเมืองลักซอร์ของประเทศอียิปต์ปัจจุบันไปจนถึงประเทศซูดานของแอฟริกา และอาณาจักรอียิปต์ล่าง(Lower Egypt) ซึ่งมีอาณาเขตแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ บริเวณเมืองอเล็กซานเดรีย นกแร้งเป็นสัญลักขณ์แทนความหมายของอาณาจักรอียิปต์บน ส่วนงูเห่าแทนอาณาจักรอียิปต์ล่าง











"Facebook ยูเรอั"